ในยุคนี้ การทำ Digital Transformation เพื่อเปลี่ยนแปลงระบบบริหารจัดการภายในเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องทำทันทีอย่างมีขั้นตอน โดยเฉพาะการนำระบบ ERP เพื่อบริหารจัดการในทุกส่วนทุกแผนก โดย Dynamics 365 Business Central ตอบโจทย์ในทุกมุมมองของการทำธุรกิจในยุคปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีเพื่อให้ทันต่อการพัฒนาไปสู่อนาคต ทำให้ Business Central ได้มีการอัพเกรดรุ่นมาอย่างต่อเนื่องในทุกๆ ปี โดยเวอร์ชันล่าสุด Dynamics 365 Business Central 2020 Wave 1 (BC16) ที่เปิดตัวไปเมื่อ เมย. 2020 นั้น ก็ถือว่ามีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างให้ตอบโจทย์ทางธุรกิจและประสบการณ์ในการใช้งานที่อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งานมากขึ้น
แต่ถ้าหากธุรกิจใดกำลังวางแผนในการอัพเกรดจาก Dynamics NAV 2018 (หรือรุ่นก่อนหน้านั้น) มีเหตุผลอยู่ 2 ประการที่ควรจะทราบว่า เพราะเหตุใดจึงควรอัพเกรดมาเป็น Business Central ตั้งแต่เวอร์ชัน BC14 ขึ้นไปภายในวันที่ 1 กย. 2020 นี้
1. ประการแรก ประหยัดค่าใช้จ่ายในการอัพเกรด
ตามแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์ของไมโครซอฟท์นั้น ถ้าหากว่า BC17 หรือ Business Central 2020 Release Wave 2 เริ่มเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการราวๆ เดือน ต.ค. 2020 ตามนโยบายของ Microsoft N-2 License Policy จะยินยอมให้สามารถซื้อสิทธิการใช้งานบนเวอร์ชั่นขั้นต่ำได้ คือ ตั้งแต่เวอร์ชั่น BC14 ขึ้นไปเท่านั้น ซึ่งจะมีผลต่อราคาของสิทธิในการอัพเกรดและสิทธิของผู้ใช้งานที่ต้องการซื้อเพิ่มเติม
2. ประการที่สอง BC14 จะเป็นเวอร์ชันสุดท้ายที่รันแอพลิเคชั่นที่พัฒนาจากภาษา C/AL (C/SIDE development)ได้
จากข้อมูลใน Microsoft’s Software Lifecycle Policy and Dynamics 365 Business Central On-Premises Updates (หรือ Microsoft N-2) แสดงให้เห็นว่า การอัพเกรดซอฟต์แวร์จะใช้เวลาและงบประมาณมากขึ้นราว 50% หากเวอร์ชันที่ต้องการจะอัพเกรด ต่ำกว่าเวอร์ชันปัจจุบันตั้งแต่ 2 รุ่นขึ้นไป ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความชำนาญทางเทคนิคของคุณเองหรือพาร์ทเนอร์ที่ดูแลระบบให้คุณ โดยเฉพาะหากเป็นการอัพเกรดรุ่นมาเป็น BC15 เลย เนื่องจากในเวอร์ชันนี้ แอพลิเคชันต่างๆ จะต้องถูกปรับเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบของ Extension เท่านั้น เนื่องจากข้อกำหนดความเข้ากันและความง่ายในการจัดการข้อมูล เพื่อลดระยะเวลาและลดผิดพลาดในขณะอัพเกรดเมื่อต้องการเปลี่ยนไปใช้งานแบบคลาวด์หรืออัพเกรดไปสู่รุ่นใหม่ๆ ในอนาคต
ดังนั้น ข้อดีในการอัพเกรดมาเป็น BC14 คือ ระบบยังมีช่องทางในการปรับเปลี่ยนเพื่อรองรับแอพลิเคชันเดิมที่ยังต้องมีการพัฒนาหรือแก้ไขด้วยภาษา C/AL บน C/SIDE Development Environment อยู่ ให้สามารถทำงานร่วมกับแอพลิเคชันรูปแบบใหม่ (Extension) ที่พัฒนาด้วยภาษาใหม่อย่าง AL บน Visual Studio Code อีกด้วย
จากตารางจะเห็นว่า BC14 จะยังคงรองรับภาษา C/AL ที่ใช้มายาวนานกว่า 30 ปี โดยไมโคซอฟท์ก็ยังมีแผนที่จะสนับสนุน BC14 ไปจนถึงปี 2023 (รวมไปถึงการออก cumulative updates ทุกเดือน) ซึ่งจะทำให้มีเวลาปรับปรุงส่วนที่เหลือให้ไปอยู่ในรูปแบบของ Extension จนหมดทุกแอพลิเคชันที่ต้องใช้งาน แล้วจึงทำการอัพเกรดไปยังเวอร์ชันใหม่ที่รองรับเฉพาะแอพลิเคชันที่พัฒนาด้วยภาษา AL เท่านั้น
ความเสี่ยงในการอัพเกรดระบบที่ทำงานได้ดีอยู่แล้ว?
หากมองว่าการดำเนินการอัพเกรดในตอนนี้มีความเสี่ยงต่อธุรกิจเนื่องจากระบบปัจจุบันยังทำงานได้ดี ให้ลองพิจารณาว่า ในรูปแบบการใช้งานแบบ serverless เช่น SaaS (Software-as-a-Services) หรือแม้กระทั่ง BC15 on-premise นั้น ส่วนประกอบอย่างเช่น .NET components หรือไฟล์ DLL อาจจะทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งคุณจะไม่สามารถรับรู้ปัญหาเหล่านี้ได้จนกระทั่งเวลาในโครงการอัพเกรดผ่านไปครึ่งปีหรืองบประมาณของโครงการใช้ไปเกิน 50% แล้ว ซึ่งบางครั้งอาจจะมาจากปัญหาเล็กๆ น้อยๆ ของการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ เช่น เครื่องชั่ง เครื่องพิมพ์ แสกนเนอร์หรือการจัดการไฟล์บางอย่าง เป็นต้น โดยเฉพาะหากมีการเชื่อมต่อกับระบบอีเมล์หรือ EDI (Electronic Data Interchange) กับระบบอื่นด้วยแล้ว การอัพเกรดจะทำได้ยากและใช้เวลานานขึ้น
การอัพเกรดเป็น BC14 ถือเป็นความท้าทาย แต่สามารถลดความเสี่ยงระยะยาวในทุกประเด็นที่กล่าวมา เนื่องจากคุณสมบัติที่ยังทำงานร่วมกับแอพลิชันที่สามารถรันบน Dynamics NAV 2016 หรือใหม่กว่าได้ ทำให้ BC14 รองรับแอพลิเคชันที่ถูกพัฒนาด้วย .NET, C/AL รวมทั้ง AL แบบใหม่ได้อีกด้วย
ยกตัวอย่างเช่น การอัพเกรด Interface ที่พัฒนาโดย .NET ไปยังเวอร์ชันใหม่ ที่อาจจะไม่ทำงานเนื่องจากปัญหาความล้มเหลวในการรับส่งข้อมูลหรือปัญหาด้านความปลอดภัยบางอย่างที่ไม่ได้ทำการทดสอบ ซึ่งอาจจะทำให้ระบบโดยรวมใช้เวลาในการทำงานเพิ่มมากขึ้นหรือหยุดทำงานอย่างสิ้นเชิง ใน BC14 คุณสามารถที่จะทำการย้อนกลับ (Rolling back) ไปใช้ .NET component แบบเดิมเพื่อให้ระบบสามารถทำงานต่อไป และชะลอระยะเวลาการอัพเกรดส่วนนี้ออกไปได้จนกว่าจะแก้ไขปัญหาแล้วเสร็จ เป็นต้น
ดังนั้น การใช้ประโยชน์ในการปรับเปลี่ยนให้เป็น Extensions ทีละส่วนๆ ควบคู่ไปกับการทำงานขนานกัน จะทำให้เรามองภาพได้ชัดและลดข้อผิดพลาดได้มากกว่าที่จะปรับเปลี่ยนแบบขนานใหญ่ในครั้งเดียว อีกนัยนึงก็คือ ไมโครซอฟท์ได้ออกแบบ BC14 และสนับสนุนระยะเวลาเพื่อให้ผู้ใช้งานและพาร์ทเนอร์สามารถดำเนินการเปลี่ยนแปลงระบบไปทีละน้อยๆ จนสำเร็จทั้งโครงการได้ เพื่อให้เตรียมพร้อมสำหรับการก้าวไปสู่คลาวด์ในอนาคตนั่นเอง