การทำ Data Analytics เป็นการนำเครื่องมือเข้ามาช่วยจัดการกับข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกผ่าน Dashboard ที่สร้างขึ้นด้วยเครื่องมือพัฒนา Data Visualization เช่น Power BI หรือ Microsoft Excel ให้เป็นรายงานที่เข้าใจง่าย สามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์และใช้ประโยชน์ในเชิงธุรกิจได้อย่างเป็นรูปธรรม ช่วยในการตัดสินใจ กำหนดทิศทาง และนโยบายขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
9 ขั้นตอนที่สำคัญของการทำ Data Analytics และ Visualization
- วางแผนกำหนดเป้าหมาย (Planning): หารือร่วมกันเพื่อกำหนดเป้าหมาย ระยะเวลาการทำงาน และความรับผิดชอบแต่ละฝ่าย
- เก็บรวบรวมความต้องการ (Gathering requirements): รวบรวมความต้องการและวัตถุประสงค์ของธุรกิจ โดยอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลที่กำหนดและรูปแบบผลลัพธ์ที่ต้องการ
- เอกสารการออกแบบระบบ (Design document): สร้างเอกสารการออกแบบที่สรุปรูปแบบและฟังก์ชันการทำงานของระบบ ซึ่งประกอบด้วยรายละเอียดแหล่งข้อมูล การจัดเก็บข้อมูล การประมวลผลข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และส่วนรายงานนำเสนอ
- กำหนดขอบเขตและทำความเข้าใจข้อมูล (Data Identification): กำหนดขอบเขตแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องและศึกษาโครงสร้างของข้อมูล เพื่อกำหนดคุณภาพข้อมูล ความสมบูรณ์ และความสอดคล้องของข้อมูล
- Extract, Transform, and Load data (ETL): รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ คัดกรองและทำความสะอาดข้อมูล และแปลงเป็นรูปแบบข้อมูลที่พร้อมใช้งาน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นมาตรฐานสำหรับการวิเคราะห์
- การวิเคราะห์ข้อมูลและการสร้างแบบจำลองข้อมูล (Data analysis and data model): วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการทางสถิติและใช้เครื่องมือต่างๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกจากข้อมูลดิบ (Raw Data) และสร้างแบบจำลองข้อมูลที่ช่วยในการจัดระเบียบข้อมูล ระบุแนวโน้ม รูปแบบ และความสัมพันธ์ของข้อมูลเพื่อช่วยในการตัดสินใจ
- รายงานนำเสนอ Dashboard (Visualization): ออกแบบรายงาน และแสดงผลบน Dashboard ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าใจข้อมูลได้ง่ายขึ้น และนำข้อมูลเชิงลึกที่ได้ไปวิเคราะห์ได้อย่างรวดเร็ว
- นำเสนอและรับข้อเสนอแนะ (Demo and feedback): นำเสนอตัวอย่างโซลูชันการวิเคราะห์ข้อมูลและการสร้างรายงานให้กับผู้ใช้งาน และรวบรวมข้อเสนอแนะเพื่อปรับแต่งโซลูชันให้ตรงตามความต้องการ และฝึกอบรมเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานระบบได้อย่างถูกต้องและราบรื่น
- การติดตั้งระบบ (Deployment): เมื่อระบบถูกพัฒนาและพร้อมติดตั้งใช้งาน จะมีบริการช่วยตรวจสอบความพร้อมของระบบอยู่เสมอ เพื่อให้แน่ใจว่ายังคงตอบสนองการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เปลี่ยนข้อมูลเชิงธุรกิจที่ซับซ้อนให้เป็นข้อมูลแบบ Interactive dashboard ที่เข้าใจง่าย เปิดมุมมองใหม่ที่ช่วยในการประเมินแนวโน้มและตัดสินใจในการกำหนดทิศทางของธุรกิจ โดย AMCO มีบริการ แบบครบวงจรเริ่มตั้งแต่การระบุข้อมูล จัดหาโซลูชัน ตลอดจนการวิเคราะห์และการแสดงรายงาน และให้การฝึกอบรมที่ครอบคลุมเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถใช้ข้อมูลให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้อย่างต่อเนื่อง