Virtual Entity หรือเอนทีตีเสมือน เป็นแหล่งข้อมูลรูปแบบหนึ่งใน Microsoft Dataverse ที่อนุญาตให้สร้าง อ่าน อัปเดตและลบการดำเนินการจาก Microsoft Dataverse ผ่านทาง Dynamics 365 Business Central ได้
โดยข้อมูลสำหรับเอนทีตีเสมือนจะไม่ได้อยู่ใน Microsoft Dataverse แต่จะถูกบันทึกไว้ในตารางข้อมูลของ Business Central ซึ่งเอนทีตีเสมือนจะอนุญาติให้เปิดใช้งานผ่าน API ของระบบ Business Central โดยจะมีการตั้งค่าเพื่อให้สามารถเรียกใช้งานผ่านทาง Microsoft Dataverse ในลักษณะของเอนทิตีเสมือนที่อ้างถึงข้อมูลแทน
What is Virtual Entity
เอนทีตีเสมือน เป็นการจำกัดความของตารางข้อมูลบนแพลตฟอร์มของ Dynamics 365 และนำไปใช้ร่วมกันบน Power Platform ซึ่งข้อมูลดังกล่าวเกิดจากการสร้างขึ้นแบบไดนามิกโดยที่ไม่ได้มีผลกระทบกับตารางข้อมูลจริงในฐานข้อมูลของผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของ Dynamics 365 การเรียกใช้งานจะต้องมีการตั้งค่าการเชื่อมต่อผ่าน virtual entity data provider เพื่อนำเข้าข้อมูลจากระบบภายนอกในแต่ละ virtual entity data source ที่มีการตั้งค่าไว้
เอนทีตีเสมือน ถือเป็นข้อมูลแบบกำหนดเองที่มีคอลัมน์ที่อ้างถึงข้อมูลจากแหล่งข้อมูลภายนอก เอนทิตีแสดงถึงตาราง (table) ฐานข้อมูล (database) และแต่ละเขตข้อมูลภายในเอนทิตีแสดงถึงคอลัมน์ (field) ในตารางนั้น เช่น Open Data Protocol (OData) ที่เป็นแหล่งข้อมูลแบบ API ใน Business Central ก็สามารถใช้เป็นเอนทิตีเสมือนใน Common Data Service (CDS) ได้
ข้อดีของเอนทีตีเสมือนคือ การลดความยุ่งยากในเข้าถึงข้อมูลภายนอกต่างๆ ที่ถูกเรียกใช้ผ่าน Visual Studio, Business Central หรือ Power Platform โดยประยุกต์การใช้งานด้วย CDS เพื่อให้แต่ละแพลตฟอร์มสามารถเรียกใช้ข้อมูลดังกล่าวได้ง่ายขึ้นและมีการบริหารจัดการจากศูนย์รวมเดียวได้นั่นเอง (ปัจจุบันยังเป็นเวอร์ชันทดลองอยู่และไม่รองรับในบางภูมิภาค อ่านรายละเอียดที่นี่)
การติดตั้งใช้งาน Business Central Virtual Entity (Preview)
ไปที่ Microsoft AppSource และค้นหาด้วยคำว่า “Virtual Entity” จากนั้นเลือกแอพพลิเคชัน Business Central Virtual Entity (Preview) เลือกคำสั่งติดตั้งเพื่อดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
ระบบจะเปลี่ยนหน้าไปยังหน้าจอการจัดการของ Power Platform เพื่อดำเนินการติดตั้งไปยัง tenant ที่ต้องการ ซึ่งต้องมีการเลือกภูมิภาคสำหรับ tenant ที่ต้องการใช้งานในขั้นตอนนี้ด้วย
อย่างไรก็ดีเนื่องจากการใช้งานที่เพิ่มมากขึ้นในภูมิภาค Asia/Pacific ความสามารถนี้จึงยังไม่เปิดให้ทดสอบใช้งานสำหรับประเทศในแถบนี้รวมถึงประเทศไทยด้วย ซึ่งคาดการณ์ว่า จะเริ่มทดสอบได้อีกครั้งภายในต้นปี 2021