New normal กระทบต่อการดำเนินธุรกิจและเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของผู้คนทั่วโลกให้เป็นรูปแบบออนไลน์ที่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการสามารถขยายตลาดไปยังฐานลูกค้าที่กว้างขึ้น ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคในการเดินทางไปยังห้างร้านหรือช็อปปิ้งมอลล์
โดยเปลี่ยนมาจับจ่ายสินค้าผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่มาพร้อมกับความสามารถที่หลากหลาย ได้แก่ อี-แคตตาล็อก (e-Catalog) อี-ช็อปปิ้งคาร์ท (e-Cart) และอี-เพย์เมนต์ (e-Payment) ซึ่งเป็นคุณสมบัติพื้นฐานที่ร้านค้าออนไลน์ส่วนใหญ่มีไว้บริการ ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซเติบโตอย่างต่อเนื่องและมีมูลค่าตลาดเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆโดยไม่มีท่าทีว่าจะถึงจุดอิ่มตัวในระยะเวลาอันใกล้
ทำความรู้จักกับ CBEC (Cross Border E-Commerce)
จากกระแสความนิยมของการซื้อขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ในประเทศจีนส่งผลให้รัฐบาลจีนออกนโยบายรูปแบบใหม่ในการจัดการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกว่า Cross Border E-Commerce (CBEC) เพื่ออำนวยความสะดวกในการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศโดยช่วยลดต้นทุน เวลา และกระบวนการบางขั้นตอน สำหรับผู้ประกอบการในต่างประเทศทั้งขนาดใหญ่ และ SME ที่ต้องการทดลองขยายตลาดในประเทศจีนแต่ยังไม่ต้องการลงทุนสูงในระยะแรก
CBEC ยังเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการไทยเข้าถึงตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่ในประเทศจีนได้ง่ายขึ้น ผ่านการค้าออนไลน์หรือแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ แต่ก่อนที่เราจะก้าวสู่ธุรกิจค้าขายข้ามพรมแดนได้อย่างเต็มตัวนั้นจำเป็นต้องมีเครื่องมือเพื่อสนับสนุนทุกกระบวนการทำงานอย่างรัดกุม ตั้งแต่การวางแผน จัดหา ขาย ไปจนถึงส่งมอบ รวมถึงรายละเอียดปลีกย่อยที่สำคัญ เช่น อัตราภาษี การชำระเงิน สกุลเงินและอัตราแลกเปลี่ยน ประมาณการกระแสเงินสด และการขนส่งสินค่าที่มีความซับซ้อนมากกว่าเดิม ทั้งนี้การขายสินค้าออนไลน์มักมีรายการซื้อขายต่อวัน (Transaction) เป็นจำนวนมาก และคงไม่สะดวกหากเราจะเลือกเก็บข้อมูลไว้ในโปรแกรม Spreadsheet เพราะมีโอกาสที่ข้อมูลจะปะปนกันหรือยากต่อการสืบค้นในภายหลัง
การประยุกต์ใช้งาน Dynamics 365 Business Central กับธุรกิจ CBEC
Dynamics 365 Business Central เป็นคลาวด์อีอาร์พีที่ติดตั้งใช้งานง่ายและมีฟังก์ชันที่สนับสนุนการทำตลาดออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซหรือมาร์เก็ตเพลสที่ครบครัน เหมาะสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาพัฒนาธุรกิจ Digital business เพื่อเข้าถึงผู้บริโภคยุคใหม่ที่นิยมซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ โดยสามารถนำข้อมูลจากรายการซื้อขายที่เกิดขึ้นมาต่อยอดเพื่อวิเคราะห์และวางแผนกลยุทธ์ได้อย่างรวดเร็ว และตรงเป้าหมาย
ขอยกตัวอย่างฟังก์ชัน Multi-Currency ซึ่งเป็นหนึ่งในคุณสมบัติเด่นของ Business Central ที่จำเป็นสำหรับการทำธุรกิจข้ามพรมแดนเพราะมีเรื่องของสกุลเงินต่างประเทศเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย โดย Business Central กำหนดสกุลเงินต่างประเทศและอัตราแลกเปลี่ยนได้ไม่จำกัด สามารถนำไปใช้กับธุรกิจนำเข้าและส่งออกสินค้าได้ทุกประเภทซึ่งกำหนดได้ว่าจะให้เอกสารชนิดใดแสดงค่าเงินเป็นสกุลใด หลังจากนั้น Business Central จะทำการแปลงค่าเงินเป็นสกุลเงินท้องถิ่นและทำการลงบัญชีให้โดยอัตโนมัติ และแสดงกำไร-ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนให้เราทราบได้ทันที ทำให้การคิดต้นทุนสินค้ามีความถูกต้องและแม่นยำยิ่งขึ้น
ตัวอย่างการใช้งาน Multi-Currency
Currencies – Exchange rate configuration
ตัวอย่างการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนแต่ละสกุลเงิน ที่สามารถทำได้ทั้งแบบ manual หรือแบบอัตโนมัติผ่านบริการข้อมูลอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (Foreign Exchange Rates Service) โดยเมื่อนำไปใช้งาน เราสามารถเลือกให้ Business Central ทำการปรับปรุงอัตราแลกเปลี่ยนเฉพาะช่วงเวลาที่ต้องการได้
Currencies on customer & vendor invoices and bank account
ตัวอย่างการกำหนดสกุลเงินให้กับการ์ดต่างๆ ได้แก่ Customer card, Vendor card, Bank account card รวมถึงเอกสาร invoice แต่ละประเภทให้แสดงสกุลเงินที่แตกต่างกันได้ตามต้องการ
Local currency (LCY)
ตัวอย่างการกำหนดสกุลเงินท้องถิ่นของประเทศที่บริษัทดำเนินกิจการอยู่ให้กับโมดูลบัญชีการเงินของ Business Central
หากคุณคือผู้ประกอบการที่กำลังมองหาตัวช่วยเพื่อขยายกิจการผ่านช่องทางออนไลน์ข้ามพรมแดน เรามีทีมที่พร้อมให้คำปรึกษาและแนะนำโซลูชันที่ตอบโจทย์สำหรับคุณ โปรดติดตามบทความ “บุกพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนอย่างไรให้สำเร็จ” ในตอนต่อไป
บทความโดย Penrawee