Dynamics 365 Business Central Fall 2019 Release เริ่มให้นักพัฒนาทดสอบการใช้งานตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2019 ที่ผ่านมา และมีกำหนดออกในเดือนตุลาคม 2019 นี้
จากที่ไมโครซอฟท์ประกาศ Roadmap ในงาน Direction Asia เมื่อกลางปีที่ผ่านมา เพื่อประกาศจุดยืนและแสดงความชัดเจนถึงแผนพัฒนา ERP Software ที่ยังคงเดินหน้าอย่างต่อเนื่องไปอีกหลายปี โดยเวอร์ชันล่าสุดที่กำลังจะออกมาให้เราได้ใช้งานในเดือนตุลาคมนี้มีชื่อเรียกว่า Dynamics 365 Business Central Fall 2019 Release หรือ Dynamics 365 Business Central 2019 Release Wave 2 ซึ่งมีคุณสมบัติเด่นที่น่าสนใจหลายประการ ดังนี้
ส่วนของผู้ใช้งานแบบใหม่ (Modern Clients)
เนื่องจากในเวอร์ชั่นนี้จะไม่มีทางเลือกในการติดตั้ง Role Tailored Client หรือ Windows Client แล้ว ดังนั้น modern clients จึงเป็นความสามารถที่ผู้ใช้งานต่างตั้งตาคอย โดยคาดหวังว่าส่วนของผู้ใช้งานแบบใหม่นี้จะมาพร้อมกับการทำงานแบบอัตโนมัติมากยิ่งขึ้น เราลองมาดูกันว่ามีอะไรใหม่ในส่วนของ Modern Clients บ้าง
คุณสมบัติอื่นๆของ Modern Clients
- Enhancements to Excel integration
- General user experience adjustments
- Longer timeout period for the server connection
- Modern clients only for Business Central
- Personalize action and navigation on your Home page
- Resize columns with fewer clicks
- Saving and personalizing list views
- Switch between companies in your Business Inbox in Outlook
- Multi-tasking across multiple pages
- Speed and agility of data entry
ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่หรือเว็บไซต์ทางการจากไมโครซอฟท์ https://docs.microsoft.com/en-us/dynamics365-release-plan/2019wave2/dynamics365-business-central/modern-clients
การติดตั้งระบบให้กับองค์กรที่มีหลายบริษัท (Multiple production environments)
อีกหนึ่งความสามารถใหม่ที่น่าสนใจ คือ การก้าวข้ามข้อจำกัดเรื่องการติดตั้ง Localisations ให้กับองค์กร Corporate ที่ประกอบด้วยหลายบริษัท (Multi-companies) ด้วยการอนุญาตให้แต่ละบริษัทในเครือสามารถเลือกติดตั้ง Localisation-Extensions ที่แตกต่างกันตามความต้องการใช้งานหรือตามกฏหมายทางภาษีของแต่ละประเทศได้
เครื่องมือสำหรับนักพัฒนา (New developer tools)
หลังจากที่ไมโครซอฟท์เปิดตัว AL-language & extensions, Visual Studio Code และ Azure DevOps เครื่องมือสำหรับนักพัฒนาโปรแกรมเวอร์ชันล่าสุดมาสักระยะหนึ่งแล้ว แต่ก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าท้ายที่สุดแล้วมีเครื่องมือใดบ้างที่จะเข้ามาแทนที่ C/Side และ C/AL ที่นักพัฒนาฯทั่วโลกคุ้นเคยกันดี ทั้งนี้มีความเป็นไปได้สูงมากที่คอนเซปท์การพัฒนาโปรแกรมจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ คือ ส่วนงานระบบ (system part) และแอพพลิเคชัน (application part)
ประสิทธิภาพ (Performance)
ไมโครซอฟท์ยังคงเดินหน้าในการปรับจูนประสิทธิภาพการทำงานของระบบโดยเฉพาะเรื่องความเร็วในการบันทึกข้อมูลโดยเฉพาะข้อมูลการจัดซื้อและการขายรวมถึงความเร็วในการ import ข้อมูลจากภายนอก และมีเครื่องมือเฉพาะสำหรับนักพัฒนาเพื่อวัดประสิทธิภาพของ Extensions ที่นำมาติดตั้งใช้งาน