Microsoft Dynamics NAV 2018 เป็นระบบ ERP รุ่นใหม่ที่ไมโครซอฟท์เปิดตัวเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2017 ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นเวอร์ชั่นล่าสุดของซอฟต์แวร์ ERP สำหรับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางที่ได้รับความนิยมมาอย่างยาวนาน
ซึ่ง Microsoft Dynamics NAV 2018 มีฟังก์ชั่นใหม่ๆ ที่จะช่วยผู้ใช้งานมีความสะดวกและเพิ่มความทันสมัยในการใช้งานบริการจากคลาวด์ต่างๆ (cloud-first application) เช่น Cognitive Services, Azure Active Directory (AAD) และ Artificial Intelligence (AI) มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังได้ชูจุดเด่นในการทำงานบน Web Client และ Universal App บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ต่างๆ ว่ามีความสะดวกสบายเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม โดยมีความสามารถที่น่าสนใจแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ดังนี้
กลุ่มผู้ใช้งาน (Features for application users)
User Personalization & Web Client
ผู้ใช้งานสามารถปรับเปลี่ยนหน้าจอบนเว็บหรือ Universal App ในอุปกรณ์เคลื่อนที่ได้ด้วยตัวเอง ทำให้สะดวกในการจัดกลุ่มหรือเปลี่ยนการใช้งานกล่องข้อมูลบางอย่างที่เหมาะสมกับตัวเอง อีกทั้งยังสามารถเรียกดูตัวอย่างรายงานก่อนพิมพ์ในรูปแบบของ PDF in browser ได้อีกด้วย
Financial Template Excel Integration
เพิ่มรายงานตัวอย่างสำหรับผู้ใช้งานที่อยู่ในบทบาท (Role Center) Business Manager และ Accounting เพื่อให้สามารถใช้รายงานทางการเงินที่ระบบได้เตรียมไว้ให้บน Excel ได้เลย ซึ่งประกอบไปด้วยรายงานทางการเงินที่น่าสนใจเช่น งบแสดงฐานะทางการเงิน (Balance Sheet), งบกระแสเงินสด (Cash Flow Statement) และงบทดลอง (Trial Balance) เป็นต้น
Manage Flows Integration: Embedded Microsoft Flow
อีกจุดหนึ่งในการทำงานร่วมกันกับ Microsoft Flow คือการอนุญาตให้มีการสร้างและอนุมัติเอกสารต่างๆ เช่นใบสั่งขายผ่านทาง Microsoft Flow เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกับระบบภายนอกได้อย่างอิสระและปลอดภัย
Image Analyzer Extension
เพิ่มความสามารถให้การเตรียมข้อมูลของ Vendor, Customer หรือสินค้าจากรูปภาพด้วยบริการ Microsoft Cognitive Services ในการวิเคราะห์ข้อมูลคุณสมบัติของภาพ (Attribute) ที่เพิ่มเข้าไปในระบบแบบอัตโนมัติ เช่น อายุ, เพศ, สี หรือลักษณะพิเศษต่างๆ เป็นต้น
กลุ่มผู้พัฒนาและฝ่ายเทคนิค (Features for technical/developer users)
ในส่วนของการปรับปรุงสำหรับผู้พัฒนานั้น ได้มีการเพิ่มความสามารถหลายๆ อย่างเข้ามา โดยจะเพิ่มทางเลือกในการติดตั้งเครื่องมือในการพัฒนา (Development Environment) ออกเป็น 2 แบบคือ
1. Development Environment แบบเดิมที่รองรับการพัฒนาด้วยภาษา C/SIDE, C/AL
2. Modern Development Environment รองรับการทำงานด้วย Visual Studio Code และ AL extension โดยคุณสมบัติเหล่านี้จะอยู่ใน Dynamics NAV 2018 และ Dynamics NAV “Tenerife”
Extensions Target Level: Extensions 2.0 publishable/installable: ใน Extension 2.0 จะมีลักษณะการทำงานแบบใหม่ที่มีลำดับขั้นชัดเจน ทำให้สามารถจัดกลุ่ม Extensions ด้วยคุณสมบัติและการเข้าถึงที่แตกต่างกันได้ตามสิทธิต่างๆ เช่น ระดับผู้ใช้งานหรือประเภทของ Extension ได้ ไม่ว่าจะผ่านการตั้งค่าจาก VSCode หรือหน้าจอ Role Center ของผู้ดูแลระบบ (system admin) เพื่อให้การติดตั้งและเปิดใช้งานมีความยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น
Default & Service Language: การตั้งค่า NAV Server Instance มีส่วนเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับภาษาเริ่มต้นของระบบ (Default Language) และภาษาในการสนับสนุน (Support Language) แยกกันได้
Change Server Setting Without Restart: การเปลี่ยนแปลงข้อมูลบางอย่างเช่น ภาษาหรือบทบาทเริ่มต้นของผู้ใช้งาน ระบบจะทำการตั้งค่าให้เองโดยไม่จำเป็นต้องเปิดปิดหน้าจอใหม่
Universal App & Windows 10 Continuum: ปรับปรุงแอพลิชั่นบนอุปกรณ์เคลื่อนที่และรองรับความสามารถใหม่ๆ บน Windows 10 Continuum (อ่านรายละเอียดได้ที่นี่)
PowerShell cmdlets: เพิ่มและเปลี่ยนแปลงคำสั่งบน PowerShell เพื่อให้ทำงานได้สะดวกยิ่งขึ้น (ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ https://docs.microsoft.com/en-us/dynamics-nav/changes-to-microsoft-dynamics-nav-cmdlets-from-previous-release)
ASP.NET Core: Dynamics NAV Web Server เปลี่ยนมาทำงานบนแพลตฟอร์ม ASP.NET Core ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานบนคลาวด์ในแบบ Software-as-a-Services (SaaS) ได้ดียิ่งขึ้น
OData V4 Bound Actions: Dynamics NAV 2018 สามารถแบ่งปันข้อมูลต่างๆ ผ่านทาง OData Web Service V4 โดยเฉพาะ OData Relational Query Support นั้นสามารถส่งค่าต่างๆ ที่เชื่อมโยงกันด้วยการเรียกใช้งานเพียงครั้งเดียว (single call, single response)